หน้าเว็บไซต์หลัก
หัวข้อ จัดอันดับเขตยอดเยี่ยมและยอดแย่ใน กทม.
                 การดูแลชีวิตความเป็นอยู่ของชาว กทม. ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีนับเป็นภารกิจหลักของกรุงเทพมหานคร
ซึ่งภารกิจดังกล่าวจะสำเร็จลุล่วงได้มากน้อยเพียงใดส่วนหนึ่งย่อมขึ้นอยู่กับผู้ว่าฯ กทม. และทีมงานในฐานะผู้กำหนด
นโยบายและควบคุมการบริหารงาน  อีกส่วนหนึ่งขึ้นอยู่กับสำนักงานเขตต่างๆ ในฐานะผู้นำนโยบายไปปฏิบัติให้บังเกิด
ผลในโอกาสที่วันที่ 15 กรกฎาคมที่ผ่านมาครบกำหนด 6 เดือนของการปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งผู้ว่าฯ กทม. ของ
ม.ร.ว.สุขุมพันธ์ บริพัตร   ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)  จึงได้ดำเนินการสำรวจเรื่อง “จัดอันดับเขต
ยอดเยี่ยมและยอดแย่ใน กทม.
”  ขึ้นเพื่อสะท้อนความคิดเห็นของประชาชนในเขตต่างๆ โดยเก็บข้อมูลจาก
ประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป ในทุกสาขาอาชีพที่มีทะเบียนบ้านอยู่ในเขตต่างๆ ทั้ง 50 เขตของกรุงเทพมหานคร จำนวน
ทั้งสิ้น 1,600 คน เมื่อวันที่ 15 – 23 กรกฎาคมที่ผ่านมา สรุปผลได้ดังนี้
 
             1. ความพึงพอใจต่อผลงานของสำนักงานเขตทั้ง 50 เขต มีคะแนนเฉลี่ย 5.01 คะแนน
                 จากคะแนนเต็ม 10   โดยมีรายละเอียดของความพึงพอใจผลงานด้านต่างๆ ดังนี้

 
คะแนนที่ได้ (คะแนนเต็ม 10)
การให้บริการงานทะเบียนราษฎร ทะเบียนบ้าน บัตรประประชาชน
6.14
การเก็บขยะมูลฝอย การปลูกต้นไม้ ดูแลและบำรุงรักษาต้นไม้ พื้นที่สีเขียว
5.51
การจัดการเลือกตั้ง และการรับเรื่องร้องทุกข์
5.23
การส่งเสริมอาชีพ ศูนย์ฝึกอาชีพ การสงเคราะห์สตรี ผู้สูงอายุ ผู้ด้อยโอกาส
5.15
การจัดเก็บภาษีในพื้นที่ ค่าธรรมเนียมค่าเช่า และการดำเนินคดีด้านภาษี
4.94
การควบคุมดูแลสุขลักษณะของตลาด การจำหน่ายสินค้าในที่สาธารณะ
การควบคุมมลพิษ แมลง สัตว์นำโรค
4.47
การก่อสร้างปรับปรุงถนนตรอกซอย ทางเท้า สะพานลอย ดูแลรักษาคูคลอง
ปัญหาน้ำท่วม ป้ายชื่อซอย ป้ายจราจร
4.41
การควบคุมดูแลเรื่องความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน เช่น
เทศกิจ และบรรเทาสาธารณภัย
4.26

 
             2. ความพึงพอใจต่อผลงานโดยรวมทั้ง 8 ด้านของสำนักงานเขตต่างๆ เปรียบเทียบเป็นรายเขต
                 (จัดอันดับโดยใช้เกณฑ์คะแนนที่ประชาชนในแต่ละเขตประเมินสำนักงานเขตในพื้นที่ของตน)
                 พบว่า


                   สำนักงานเขตที่ประชาชนให้คะแนน ความพึงพอใจต่อผลงานโดยรวม สูงที่สุด 3 อันดับแรก
                     ได้แก่

 
คะแนน
อันดับที่ 1 เขตจตุจักร
6.02
อันดับที่ 2 เขตประเวศ
5.92
อันดับที่ 3 เขตสายไหม
5.81

                   สำนักงานเขตที่ประชาชนให้คะแนน ความพึงพอใจต่อผลงานโดยรวม ต่ำที่สุด 3 อันดับแรก
                     ได้แก่

 
คะแนน
อันดับที่ 1 เขตดอนเมือง
4.23
อันดับที่ 2 เขตบางขุนเทียน
4.31
อันดับที่ 3 เขตลาดพร้าว
4.41
 
             3. ความพึงพอใจต่อการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ในสำนักงานเขต สรุปได้ดังนี้

                    ด้านความขยันทุ่มเทในการทำงาน
 
คะแนน
อันดับที่ 1 เขตประเวศ
6.57
อันดับที่ 2 เขตบางกอกน้อย
6.49
อันดับที่ 3 เขตพญาไท
6.16

                   ด้านความรวดเร็วฉับไวในการให้บริการ
 
คะแนน
อันดับที่ 1 เขตพระโขนง
6.81
อันดับที่ 2 เขตตลิ่งชัน
6.76
อันดับที่ 3 เขตประเวศ
6.50

                   ด้านความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
 
คะแนน
อันดับที่ 1 เขตประเวศ
5.93
อันดับที่ 2 เขตพระโขนง
5.83
อันดับที่ 3 เขตคันนายาว
5.73
 
             4. ความเห็นต่อสภาพแวดล้อมบริเวณชุมชนหรือละแวกเขตที่พักอาศัย เปรียบเทียบระหว่าง
                 ปัจจุบันกับช่วงก่อนที่ ม.ร.ว. สุขุมพันธ์ บริพัตร จะเข้ารับตำแหน่งผู้ว่าฯ กทม. พบว่า

 
ร้อยละ
เหมือนเดิมไม่เปลี่ยนแปลง
72.1
เปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น
21.4
เปลี่ยนแปลงไปในทางที่แย่ลง
6.5
 
             5. เรื่องที่ประชาชนต้องการให้ละแวกเขตที่พักอาศัยอยู่มีการพัฒนาปรับปรุงมากที่สุด 3 อันดับแรก
                 คือ (เป็นคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบระบุเอง)

 
ร้อยละ
เรื่องความสะอาด ขยะมูลฝอย เพิ่มจำนวนถังขยะ และเก็บขยะให้บ่อยขึ้น
13.3
ปรับปรุงสภาพถนนในซอยและทางเท้า
11.1
ท่อระบายน้ำตัน ไม่มีฝาท่อ น้ำท่วมขังตามถนนและซอย
10.0
 
รายละเอียดในการสำรวจ
ระเบียบวิธีการสำรวจ:
                  การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป ทุกสาขาอาชีพ ที่อยู่อาศัยและมีทะเบียนบ้านอยู่ในเขต
ต่างๆ ทั้ง 50 เขตของกรุงเทพมหานคร โดยการสุ่มประชากรเป้าหมายที่จะสัมภาษณ์อย่างเป็นระบบ และใช้วิธีเก็บข้อมูล
โดยการสัมภาษณ์แบบพบตัวและการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 1,600 คน เป็นเพศชายร้อยละ 46.3
และเพศหญิงร้อยละ 53.7
 
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error):
                  ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน  3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
 
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล:
                  ใช้การสัมภาษณ์แบบพบตัว (Face-to-face Interview) และการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยเครื่องมือที่ใช้
ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal)
และคำถามปลายเปิด (Open Form) จากนั้นคณะนักวิจัยได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์
ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
 
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล: 15 – 23 กรกฎาคม 2552
 
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ: 27 กรกฎาคม 2552
 
สรุปข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง:
ตารางที่ 1: ข้อมูลประชากรศาสตร์
 
จำนวน
ร้อยละ
เพศ:    
             ชาย
740
46.3
             หญิง
860
53.7
รวม
1,600
100.0
อายุ:
 
 
             18 ปี – 25 ปี
315
19.8
             26 ปี – 35 ปี
377
23.5
             36 ปี – 45 ปี
408
25.5
             46 ปีขึ้นไป
500
31.2
รวม
1,600
100.0
การศึกษา:
 
 
             ต่ำกว่าปริญญาตรี
1,086
67.9
             ปริญญาตรี
469
29.3
             สูงกว่าปริญญาตรี
45
2.8
รวม
1,600
100.0
อาชีพ:
 
 
             ข้าราชการ / พนักงานรัฐวิสาหกิจ
84
5.2
             พนักงาน / ลูกจ้างบริษัทเอกชน
247
15.4
             ค้าขาย / อาชีพส่วนตัว
539
33.7
             รับจ้างทั่วไป
273
17.1
             พ่อบ้าน / แม่บ้าน / เกษียณอายุ
278
17.4
             อื่นๆ อาทิ นักศึกษา อาชีพอิสระ
179
11.2
รวม
1,600
100.0
 
Vote:  ดีมาก(5) ดี (4) ปานกลาง(3) พอใช้ (2) แย่ (1)  
 ผลคะแนนVote              
 
Download PDF file:  
 
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)
Email: bangkokpoll@bu.ac.th      โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1770-1776